เผยแพร่วัตถุมงคล บารมีเกจิและคณาจารย์ทั่วประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

หลวงปู่กาหลวงเขี้ยวแก้ว วัดเขาแหลม

หลวงปู่กาหลง เดิมท่านเป็นชาวคลอง 7 ปทุมธานี เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2461 มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน ท่านเป็นบุตรคนโต โดยก่อนที่หลวงปู่ท่านจะเกิด ก็ได้เกิดนิมิตขึ้นมาดังนี้ มีชายคนหนึ่งชื่อ ลุงบาง กำลังออกหาปลา อาชีพของเขาในตอนนั้น ในตอนนั้นเขากำลังอยู่ใกล้บริเวณบ้านของหลวงปู่ ตอนนั้นท่านยังไม่เกิด ตอนนั้นลุงบางได้เห็นลูกไฟลูกหนึ่งลอยมาหน้าบ้านของหลวงปู่ ทันใดนั้นดวงไฟนั้นก็ได้กลายเป็นฤๅษี กำลังจูงเด็กน้อยเข้าไปในบ้านหลวงปู่ เมื่อแกเห็นเป็นเช่นนั้น แกจึงได้ยกมือไหว้ด้วยความเลื่อมใส และได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าเด็กในบ้านนี้เกิดเป็นผู้ชาย แกจะเลิกจับปลาเด็ดขาด ต่อมา ผู้หญิงผู้ชายในบ้านนี้ก็ได้คลอดลูกออกมาเป็นลูกชาย ตั้งชื่อให้ว่า กาหลง หลังจากนั้นลุงบางก็ได้เลิกหาปลาตามที่เขาได้สัญญาไว้ ในชีวิตวัยเยาว์ หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่มีใจฝักใฝ่ต่อพระพุทธศาสนา ท่านชอบไหว้พระ หรือเมื่อพ่อแม่ของท่านชวนท่านไปวัด ท่านก็จะไปวัดกับพ่อแม่เป็นประจำ ท่านชอบนั่งสมาธิภาวนาอยู่เป็นประจำ ในปี พ.ศ. 2481 ตอนนั้น ท่านมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนาบุญ คลอง 7 จังหวัดปทุมธานี ในวันที่ท่านบวช ลุงบางก็ได้เล่านิมิตที่ลุงบางได้เก็บมานานถึง 20 ปี ให้หลวงปู่ฟัง และหลังจากหลวงปู่ท่านอุปสมบทแล้ว ลุงบางก็ทำหน้าที่เป็นโยมอุปฐาก คอยดูแลหลวงปู่อย่างใกล้ชิด
หลังจากอุปสมบท ท่านก็ได้บวชเรียนและจำพรรษาที่ วัดนาบุญ และร่ำเรียนวิทยาคมกับ หลวงพ่อเนียม และ หลวงพ่อซึ้ง ท่านทั้ง 2 นี้เป็นกพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจากวัดนาบุญ จนท่านมีความชำนาญในการเข้ากรรมฐาน และวิชาอาคมต่างๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดน้ำซับ หลวงปู่ท่านได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ท่านได้สร้างโบสถ์หลายๆหลังขึ้นมาอีกมากมาย จากนั้น ท่านก็ได้ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดเขาแหลม และเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาแหลมในปี พ.ศ. 2513  ท่านเคยไปปลุกเสกตามวัดต่างๆหลายต่อหลายวัดมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ไปปลุกเสกร่วมกับ ลป.โต๊ะ หลังเสร็จพิธีการลป.โต๊ะถึงกับกล่าวและชี้มาที่ ลป.กาหลง หัยลพ.แช่มวัดนวลนรดิศและศิษย์ที่นั่งอยู่ฟังว่า "พระรูปนี้ชื่ออะไรอยู่วัดไหน ทำไมพลังอำนาจจิตถึงได้รุนแรงพิศดารแบบนี้ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน"
หลวงปู่ท่านมีเขี้ยวแก้วอยู่ที่กลางเพดานปากเป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่ติดตัวท่านมาแต่เกิด หลวงปู่บอกว่าของดีนี้เกิดขึ้นเองและจะมีก็แต่บุคคลที่พิเศษจริง เช่น ของพระพุทธเจ้าเป็นต้นที่มี ถ้าเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว แต่ของหลวงปู่ท่านเรียกว่า “เขี้ยวแก้ว” ซึ่งเป็นของดีเฉพาะตัวเฉพาะบุคคลเวลาใครไปกราบท่านแล้วให้ท่านปลุกเสกของท่านก็มักจะเอามือล้วงไปในปากท่านแตะที่เขี้ยวแก้วของท่านแล้วนำมาคลึง ที่พระหรือ ของที่มาให้ท่านปลุกเสกเป็นการเพิ่มพลังพุทธคุณ ท่านมักกล่าวอยู่เสมอว่า
 "ของๆฉันตั้งใจทำมากับมือต่อไปจะมีค่ายิ่งกว่าทองคำจะหายากยิ่งกว่าเพชร"
ฉันทำเครื่องรางของขลังทั้งสักทั้งเสกเพื่อคุ้มครองชีวิตคนมาตั้งแต่ปี 2485 แต่ไม่เคยประกาศให้ใครรู้มีแต่บอกต่อกันแบบปากต่อปาก เมื่อก่อนใครจะมาเอาของๆฉันไปบูชาต้องแบกปืนมาลองด้วยถ้าฉันไม่แน่จริงฉันคงสร้างโบสถ์ได้ไม่ถึง8หลังหรอก คือว่าเมื่อก่อนท่านย้ายวัดไปหลายวัดท่านสร้างโบสถ์เสร็จท่านก็ย้ายไปจำวัดอื่น แล้วก็สร้างโบสถ์อีกเป็นแบบอยู่หลายวัด 8หลังแล้วที่ท่านสร้างมา 
หลวงปู่กาหลง ท่านได้อาพาธตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา และได้เข้ารักษาอาการอาพาธ ซึ่งท่านได้ตรวจพบเจอ มะเร็งที่ลำคอ ต่อมาอาการของหลวงปู่ท่านก็ได้ทรุดหนักลงจนกระทั่ง ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552 ณ โรงพยาบาลเปาโล
รวมสิริอายุได้ 91 ปี บวชเรียนมา 71 พรรษา  หลังจากนั้นได้นำศพของท่านมาตั้งสวดพระอภิธรรมศพเป็นเวลา 7 คืน และสวดศพ 100 วัน จากนั้นได้นำศพของท่านนำบรรจุใส่โลงแก้ว ให้สาธุชนได้กราบไหว้ต่อไป

แหล่งที่มา
http://m.tnews.co.th/contents/207241

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561

หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อ จังหวัดราชบุรี


หลวงพ่อสง่า อนุปุพฺโพ นามเดิม สง่า เวสสุวรรณ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2459 เป็นบุตรของนายเขี้ยม นางเม้า เวสสุวรรณ ณ บ้านหม้อ ต. คลองตาคต อ. โพธาราม จ. ราชบุรี ชีวิตในวัยเยาว์เริ่มเรียนหนังสือในโรงเรียนวัดบ้านหม้อ ซึ่งสมัยก่อนศาลาวัดจะเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่าน มีครูอาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์เป็นผู้อบรมสั่งสอน บางวันเด็กๆ ต้องนอนค้างที่วัดรวมทั้งตัวของหลวงพ่อสง่าเองด้วย เพื่อคอยปรนนิบัติรับใช้พระสงฆ์ ชีวิตของหลวงพ่อสง่าจึงอยู่ใกล้ชิดพระใกล้วัดมาโดยตลอด โดยอุปนิสัยใจคอแล้วท่านเป็นเด็กที่กล้าคิด กล้าหาญ กล้าทำให้ความสนใจการเรียนรู้เป็นพิเศษอยู่โรงเรียนวัดบ้านหม้อจนกระทั่งจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พออ่านออกเขียนได้ แล้วก็ลาออกจากโรงเรียนมาช่วยเหลือพ่อแม่ทำไร่ทำนา


ครั้นเติบโตเป็นหนุ่มใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าตามวิสัยของชายชาตรี เสร็จจากทำนาก็เที่ยวสนุกสนานไปตามหมู่บ้านอื่นๆ พอถึงฤดูทำนาก็เลิกเที่ยวประกอบอาชีพหลักต่อไปบางครั้งท่านไปเที่ยวยังหมู่บ้านอื่น เพื่อแสวงหาความรู้ด้านวิชาอาคมจากครูอาจารย์เก่งๆ แต่ก็ไม่ประสบผลเป็นที่พอใจเท่าไหร่นัก คราวหนึ่งมีคนในหมู่บ้านถูกทำร้ายปางตายเพราะเรื้องผู้หญิงที่ต้องการแสดงอำนาจความยิ่งใหญ่นั่นเอง ท่านเห็นเหตุการณ์ก็มาคิดว่า…. “ถ้าเรามีวิชาอาคม ก็อาจจะช่วยชีวิตเขาได้“ นับแต่นั้นมา ท่านก็เดินทางไปเรียนวิชากับหลวงพ่อวัดไทรอารักษ์ แต่กลับถูฏตั้งคำถามว่า…. “มาจากไหน?” ก็ตอบไปว่า…. “มาจากวัดบ้านหม้อ“ ….หลวงพ่อวัดไทรฯก็ย้อนถามว่า… “หาหญ้ากินไกลคอกเหลือเกินนะเรา อย่าลืมหญ้าปากคอกดูบ้าง ว่าหญ้าปากคอกนั้นงามขนาดไหนกัน“ หลวงพ่อได้แต่คิดถึงปริศนาถ้อยคำของหลวงพ่อวัดไทรฯ ก็คิดไม่ออกจากนั้นประมาณอาทิตย์กว่าท่านมาทบทวนปริศนาก็รู้แจ้งความจริงจึงตัดสินใจเข้าไปหาหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดบ้านหม้อที่อยู่ใกล้บ้าน เปรียบเสมือนหญ้าปากคอกดั่งที่หลวงพ่อวัดไทรฯพูดไว้เมื่อมีโอกาส ก็เข้าไปขอเรียนวิชาอาคมที่วัดเรียนอยู่แรมปี จนมีความรู้แคล่วคล่องในบทสวด คาถาอาคม อักขระเลขยันต์พอสมควร


ปีพ.ศ. 2481 ในขณะที่ท่านมีอายุได้ 22 ปี ก็ตัดสินใจเข้าอุปสมบทที่วัดบ้านหม้อ โดยมี “พระอาจารย์กลิ่น“ วัดคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ “หลวงพ่อเกลี้ยง“ วัดเฉลิมอาสน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ “พระอาจารย์เช้ง“ และ “พระอาจารย์แป๊ะ“ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (สมัยนั้นใช้พระคู่สวดในพิธีกรรมถึง 3 รูป) ได้รับฉายา “อนุปุพฺโพ“

 ครั้นอุปสมบทแล้วอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านหม้อ ศึกษาพระธรรมวินัยจนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี โท โดยลำดับ ในช่วงนั้นท่านก็ศึกษาวิชาอาคมอักขระเลขยันต์ ภาษาไทย ภาษาขอม เพิ่มเติมจากพระอาจารย์แป๊ะ พระอาจารย์เปีย วัดบ้านหม้อ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญวิชาอาคมในย่านนั้น จากนั้นก็สนใจในวิชาแพทย์ไทยแผนโบราณวิชาสมุนไพรประกอบไปด้วยตลอด เวลาที่จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหม้อ 3 พรรษา ได้วิชาความรู้มากพอที่จะรักษาตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้บ้าง ต่อมาในปีพ.ศ. 2484 ทางวัดหนองม่วง อ. บางแพ จ. ราชบุรี ขาดพระสงฆ์ผู้นำที่จะดูแลวัด ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มากวัดหนึ่ง สร้างแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น อุโบสถทรุดโทรม วัดตกอยู่ในภาพกึ่งร้างกลายสภาพเป็นป่า นอกจากโบสถ์แล้วก็มีศาลาการเปรียญหลังเล็กๆ และหมู่กุฏิสงฆ์เพียงไม่กี่หลังเท่านั้นคณะสงฆ์เห็นความสามารถของท่านจึงนิมนต์ให้ไปดูแลพัฒนาวัดให้คงสภาพดีขึ้น


ในตอนแรกที่ไปอยู่ใหม่ๆ ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก พบอุปสรรคมากมายต้องเดินทางด้วยเท้าเพียงอย่างเดียว ผจญกับโรคภัยไข้เจ็บ โจรผู้ร้ายก็ชุกชุม แต่หลวงพ่อใช้วิชาความรู้ความสามารถที่จะพัฒนาวัด โดยทำถนนทางในหมู่บ้านเริ่มบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะขึ้นโดยลำดับ
ชาวบ้านมีอาชีพทำไร่ทำนา รายได้ไม่ค่อยจะดีนัก ทำไร่ปีละครั้ง นาไร่ก็ได้ผลน้อย มาระยะหลังเปลี่ยนอาชีพมาเลี้ยงนมวัว จึงมีรายได้ดีขึ้น จึงเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองขั้นมาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี่เอง เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาถาวรวัตถุภายในวัด ท่านใช้เวลาอยู่นานหลายปี เพราะในอดีตนั้นการสร้างวัดพัฒนาวัด ต้องอาศัยแรงศรัทธาจากชาวบ้าน ไม่มีผู้รับเหมาก่อสร้างอย่างปัจจุบัน พระต้องใช้ความรู้ความสามารถเรียกศรัทธาจากชาวบ้านเป็นส่วนใหญ่ งานจึงสำเร็จไปด้วยดี ที่วัดหนองม่วงมีปูชนียวัตถุรอยพุทธบาทให้กราบไหว้บูชาวัดจึงดูร่มรื่นเย็นใจ

การศึกษาพุทธาคม หลวงพ่อสง่าเริ่มศึกษาอักขระ เลขยันต์ คาถาอาคมตั้งแต่ตอนเป็นหนุ่มสมัยยังอยู่วัดบ้านหม้อ ทั้งวิชาสักยันต์ตามความเชื่อของคนหนุ่มในสมัยนั้น ครั้นมาอุปสมบทแล้วก็ให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง ท่านเล่าว่า “แม้จะไม่ใช่กิจของสงฆ์ แต่เป็นความนิยมของคนสมัยนั้น เพื่อให้เกิดศรัทธายึดเหนี่ยวทางจิตใจ“ หลวงพ่อเป็นอาจารย์สักอยู่หลายปี ทั้งนี้เพื่อให้ชาวบ้านได้ใกล้ชิดวัดใกล้ชิดพระที่จะมุ่งเข้าสู่อุบายธรรมอบรมสั่งสอนได้ง่ายขึ้น คนที่สักยันต์จากท่านแล้วเป็นคนดีก็มาก เป็นนักเลงก็มี แต่หลังจากนั้นท่านก็เลิกพิธีกรรมทั้งหมด เพราะเห็นว่าไม่เกิดแก่นสารที่แท้จริง สำหรับการศึกษานั้น ท่านเล่าว่า “อาจารย์แต่ก่อนเขาให้เราศึกษาวิธีก่อน วิชาหาง่ายแต่วิธีหายากวิชาเขียนอยู่ในตำรับ แต่วิธีต้องปฏิบัติจริงใช้เป็น ครูบาอาจารย์จึงสอนให้รู้จักใช้วิธีกันก่อน“

เมื่อมีเวลาว่าง ได้ไปขอต่อวิชาจากหลวงปู่ดี วัดบ้านยาง อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี ซึ่งเก่งในการสร้างพระปิดตามหาอุตม์ คงกระพันชาตรี หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ. กาญจนบุรี ศิษย์หลวงปู่ยิ้ม สอนวิชาเขียนลบผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห พุทธคุณยันต์ 108 นะ 108 ฯลฯ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ. นครปฐม ถ่ายทอดสุดยอดวิชาหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก  หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ. นครปฐม ครอบครูนะเมตตา สอนการเจริญวิปัสสนา สมาธิ และสุภาษิตบันลือโลก “รู้จักพอ ก่อสุข ทุกสถาน“ หลวงพ่อสง่ามีความจำเป็นเลิศ สามารถนำสรรพเวทย์สรรพวิชาต่างๆ มาประยุกต์ใช้แล้วแต่โอกาส
ปฏิปทากิตติคุณ คุณธรรมของหลวงพ่อสง่าท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง พัฒนาวัดพัฒนาคนให้รู้จักหลักการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข ให้รู้จักอดทน เพียรพยายามพึ่งตนเองชนะใจตนเอง เน้นวิถีชีวิตอย่างชาวบ้าน ดังคำสอนที่ท่านเน้นเสมอว่า “คนเราถ้าไม่รวยก็อย่าจน หาได้ใช้เป็นก็จะไม่จน“ ผู้คนมากมายจากทุกสารทิศต่างหลั่งไหลไปกราบนมัสการและขอของดีจากท่านอยู่ประจำ ศิษย์ของท่านในกรุงเทพฯ มีหลายแห่งด้วยกันที่ศรัทธาเลี่ยมใสนิมนต์ท่านเพื่อไปเป็นประธานงานบำเพ็ญกุศล ทำบุญบ้านที่เป็นใหญ่ เป็นโตมีชื่อเสียงก็มีมาก แต่หลวงพ่อไม่เคยคุยอวดให้ใครรู้ว่าศิษย์ของท่านใหญ่ระดับไหน เมื่อใครอยากไปหาท่าน ท่านก็ต้อนรับเหมือนกันไม่มีพิธีรีตองอะไรนัก คือว่าคนเราทำงานก็ต้องมียศศักดิ์สูงต่ำ แล้วแต่ความสามารถของแต่ละบุคคล


ข้าราชการหลายท่านที่เดินทางไปกราบนมัสการขอให้ท่านรดน้ำมนต์ และทำพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา เมื่อสมัยที่ยังอยู่จำพรรษาที่วัดหนองม่วง เมื่อท่านทำให้ใครแล้วเรื้องร้ายๆ จะกลายเป็นดีไป บางคนค้าขายไม่ดีไปหาท่าน ท่านก็เมตตาให้ศีลให้พร ก็ค้าขายดีขึ้น หลวงพ่อสง่ามีความเชี่ยวชาญในเรื้องฤกษ์ยาม มีเรื้องเล่ากันว่าที่ฝั่งธนบุรีและแถวบ่อนไก่ เมื่อหลายปีก่อนมีค่ายมวยชื่อดังค่ายหนึ่งซึ่งแรกก็ไม่รู้จักหลวงพ่อสง่า มีเด็กหนุ่มวัยรุ่นที่มาฝึกหัดมวยคนหนึ่ง วันหนึ่งไปเที่ยวงานวัดใกล้ค่ายมวย ถูกเด็กเจ้าถิ่นแทงด้วยมีดพกและถูกรุมทำร้าย หัวหน้าคณะและเพื่อนนักมวยรู้ข่าวก็ไปช่วยดูแล เมื่อรู้ว่าไม่เป็นอะไรมากจึงสอบถามว่ามีอะไรดี? เขาบอกว่าไปลงกระหม่อมมา และมีตะกรุดหลวงพ่อสง่าติดตัวอยู่เพียงดอกเดียว ต่อมาคณะนักมวยก็เดินทางไปกราบนมัสกานท่านถึงวัดเพื่อขอของดี นักมวยคนที่เคยถูกทำร้ายนั้น ทุกครั้งที่จะขึ้นชกต้องไปให้หลวงพ่อเป่ากระหม่อมให้ก่อนเสมอ ชกทีไรไม่เคยแพ้ถึงแพ้บ้างก็เพียงคะแนนเท่านั้น ตอนหลังๆ ค่ายมวยแห่งนี้ขอให้ท่านลงมงคลสวมหัวนักมวย ซึ่งต้องใช้ฤกษ์ยามเวลาเริ่มต้น และค่ายมวยนี้ยังนิมนต์ท่านไปเจิมป้ายเพื่อเป็นสิริมงคลด้วย.

เรื่องเล่าก่อนหลวงพ่อสง่า มรณะภาพ
หลวงพ่อสง่า แห่งวัดหนองม่วง และวัดบ้านหม้อ ท่านน่าจะสำเร็ญญาณชั้นสุงเป็นแน่ มีศิษย์คนหนึ่งที่รุ้จักกับผม ถือว่า เป็นศิษย์ที่เคารพท่านมากๆ เดือนๆ หนึ่งไปกราบท่านหลายครั้ง เล่าให้ผมฟังว่า มีเรื่องแปลงอยู่อย่างหนึ่ง ก่อนวันที่ท่านจะมรณะภาพเพียง 1-2 สัปดาห์ หลวงพ่อสง่า ท่านได้ทำสิ่งหนึ่ง คล้ายๆจะบอกเป็นนัยๆ ว่า ท่านกำลังจะละสังขาร ( มาเข้าใจก็ตอนท่านละสังขารไปแล้ว ) เรื่องมีอยู่ว่า หลวงพ่อสง่า ท่านได้ ถอดเล็บของท่านออกหมด ทั้งเล็บมือ และเล็บเท้า ไม่เหลือเลย ศิษย์คนดังกล่าวก็สอบถามท่านว่า เป็นอะไรถึงต้องถอดเล็บออก ท่านก็ตอบว่า สนุกดี และก็ถามต่อว่า แล้วหลวงพ่อไม่เจ็บหรือ ท่านก็ตอบกลับว่า ก็แค่ คันๆ ศิษย์คนดังกล่าวยังได้ ไปซื้อยามาให้ท่านทากันการอักเสบเลย แต่มือของท่านก็เหมือนไม่เป็นอะไร แค่ไม่มีเล็บ เท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปแค่ สัปดาห์ หลวงพ่อสง่าท่านก็ป่วย ( ระยะหลังก่อนมรณะภาพท่านก็ป่วยเข้ารพ. บ่อยๆ ) ซึ่งก็ถิอเป็นเรื่องธรรมดาของคนมีอายุที่มักเจ็บป่วย บ่อยๆใครๆ ก็คิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่คราวนี้หลังท่านเข้า โรงพยาบาลได้ไม่กี่วัน เราก็ต้องสูญเสียพระเกจิที่มากด้วยความเมตตา มากด้วยความกรุณาที่หาประมาณมิได้ ไป ใช่ครับ ท่านมรณะภาพไปด้วยอาการสงบ แต่คุณงามความดี ตลอดจนสิ่งที่ดีงาม หาได้จากไปไม่ ยังคงตราตรึงในจิตใจของศิษย์ และสาธุชนที่เคารพรักท่านเสมอมิเสื่อม




แหล่งที่มาhttp://www.krusiam.com/community/forum/view.asp?forumname=%A2%E8%D2%C7%C7%A7%A1%D2%C3%BE%C3%D0&postid=ForumID0033742

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561

หลวงปู่หมุน ฐีตสีโล อมตะเถระ5แผ่นดิน

หลวงปู่หมุน ท่านกำเนิดเมื่อ พศ.2437-2546 อายุยืนถึง 109 ปี พระเครื่องของท่านออกมา ช่วงาบั้นปลายชีวิต ในปีพศ.2542-45 จึงดูเหมือนเป็นพระเครื่องใหม่ อายุพระไม่เกิน10ปี ความนิยมในท้องตลาดพระเครื่อง ยังมีไม่มาก มีเฉพาะกลุ่มลูกศิษย์ที่เคารพศรัทธา แต่ก็มีแนวโน้มกลุ่มลูกศิษย์มากขึ้น จากปากต่อปากของผู้บูชาพระเครื่องหลวงปู่ ที่พบประสบการณ์เหนือธรรมชาติ
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล เกิดในสกุล“ ศรีสงคราม”หรือ “ แก้วปักปิ่น” ถือกำเนิดเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ บิดา ชื่อ " ดี "มารดาชื่อ " อั๊ว " มีอาชีพทำไร่ทำนา เป็นเด็กยากจน แต่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ต่อมาบิดามารดาเห็นแววทางด้านพระพุทธศาสนา จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี และนำไปฝากกับพระอาจารย์สีดาเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ซึ่งเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐานและมีวิชาอาคมที่เก่งมาก ในปี 2460 ขณะอายุได้ 23 ปีได้เข้าอุปสมบทหมู่จำนวน 9 รูป โดยหลวงปู่เป็นรูปที่ 9 โดยมีโยมลุงของท่านเป็นเจ้าภาพ โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพ็งเป็นพระอนุสาวนาจารย์และหลวงพ่อผุยเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับรับฉายาว่า " ฐิตสีโล " แปลว่า " ผู้มีศีลตั้งมั่น "จากนั้นได้ศึกษาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปี ก่อนออกแสวงหาครูบาอาจารย์อื่นๆ เพื่อศึกษาคันธธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไป

ปี พ.ศ.2464 หลวงปู่หมุน เริ่มออกศึกษาแสวงหาประสบการณ์โดยได้ร่ำเรียนทั้งเวทย์วิทยา และสมถกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายสำนัก การเดินทางในสมัยนั้นเป็นที่ลำบากยากเย็น ต้องเดินเท้าเปล่าผจญภัยจากผีป่า หรือสัตว์ร้ายนานัปการ แต่หลวงปู่มิได้ย่อท้อ ได้เดินทางไปศึกษาวิชาอาคมที่ สำนักตักศิลาแห่งบ้านจิกใหญ่ อ.พิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี กระทั่งศึกษาคัมภีร์มหาพุทธาคม อันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมัง คัมภีร์อิทธิเจ คัมภีร์มหาราช คัมภีร์ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราพิชัยสงคราม เช่น คัมภีร์นิติประกาศิต คัมภีร์ธนูรเวทว่าด้วยการแต่งเครื่องครอบมนตร์ในสงคราม เป็นต้น

ในช่วงปี 2475-2482 เมื่อหลวงปู่สำเร็จการศึกษาวิชาการต่าง ๆ ก็เก็บบริขารออกธุดงค์ป่าผ่านถิ่นทุรกันดารในชนบทโดยเท้าเปล่ามายังกรุงเทพ ฯ ในระยะแรกหลวงปู่เข้าพักที่ วัดเทพธิดาราม เป็นการชั่วคราว โดยมีครูทองอินทร์ เป็นครูสอนของวัดเทพธิดาราม เป็นผู้เอื้อเฟื้อจัดหาที่พำนักให้ ท่านได้ให้หลวงปู่อยู่ที่วัดวัดอรุณราชวราราม พำนักอยู่กับพระพิมลธรรม(นาค) ศิษย์สายสมเด็จพระสังฆราชแพ โอกาสนี้หลวงปู่ได้ร่ำเรียนวิชาคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรโบราณอันเก่าแก่ของคณะสงฆ์ไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นตำราที่ละเอียดลึกซึ้ง แตกฉานพระบาลีว่าด้วยคัมภีร์อรรถกถายากยิ่งที่จะมีผู้เรียนได้สำเร็จ ปัจจุบันวิชานี้ได้ยกเลิกไปแล้ว

หลวงปู่หมุนได้เข้าสอบวิชามูลกัจจายน์นั้น ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งการสอบในสมัยนั้นมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธาน และสมเด็จพระสังฆราช(แพ) เป็นประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์ และพระเถราจารย์เป็นผู้ทดสอบด้วย โดยมีการถามตอบแบบมุขปาฐะ (ปากเปล่า) ถ้าถามตอบบาลีผิดเกิน 3 คำ ให้ปรับเป็นตกทันที ด้วยความรู้ความสามารถที่แตกฉานในคัมภีร์หลวงปู่สามารถสอบได้เปรียญธรรมถึง 5 ประโยคในคราวเดียวเท่านั้น หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ใช้วิชาความรู้อย่าง คุ้มค่า โดยได้เป็นครูสอนมูลกัจจายน์อยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม(ฝั่งธนบุรี) เป็นเวลานานหลายปี มีลูกศิษย์มากมาย นอกจากนี้ในช่วงหนึ่งหลวงปู่มาพักกับสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่วัดสุทัศน์ฯ และได้ศึกษาวิชาบางอย่างกับสมเด็จพระสังฆราชแพอีกด้วย

จากนั้นก็เก็บบริขารเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์ทองดี ที่มาจาก อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ธุดงค์ ไปทางภาคเหนือเข้าเขตพม่าเป็นเวลา 1 ปี จากนั้นก็เดินเท้าเปล่าลงภาคใต้ไปพำนักกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ เพื่อปฎิบัติกรรมฐานและแลกเปลี่ยนวิชาอาถรรพณ์เวทมนต์กับพระอาจารย์ทิมอยู่ ประมาณปีกว่า ๆ ก่อนธุดงค์เข้าเขตประเทศมาเลเซีย เพื่อจะเรียนวิชากับพ่อท่านครน วัดบางแซะ ใช้เวลาธุดงค์อยู่ถึง 7 วัน แต่ไม่พบจึงตัดสินใจกลับวัดช้างให้ ต่อจากนั้นก็ได้เรียนวิชาจากพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช โดยได้ของที่ระลึกจากพ่อท่านคล้ายคือ ชานหมากเม็ดใหญ่เป็นที่ระลึก จากนั้นก็เดินธุดงค์เรื่อยมาจนกลับสู่เขตอีสานอีกครั้งและได้พบกับหลวงปู่สี ฉันทสิริ ในป่าแถบ จังหวัดหนองคาย และได้วิชาลบผงสีจากหลวงปู่สี ซึ่งได้รับสืบทอดมาจากสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม

ช่วงที่ท่านธุดงค์แถบอุบลราชธานีได้พบกับหลวงปู่มั่น และขอเรียนข้อวัตรปฏิบัติในพระกรรมฐาน แต่ไม่ได้ร่วมคณะธุดงค์ เพราะท่านอยู่นิกายมหายาน หลวงปู่เคยเล่าประวัติในช่วงธุดงค์ให้กับพระภิกษุที่เป็นหลานของท่านว่า เคยได้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นอยู่พักหนึ่ง ในช่วงที่หลวงปู่ต้องการเจริญสมณธรรม เป็นธรรมอันล้ำลึกยากยิ่งที่ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงจะล่วงรู้ถึงอารมณ์ของ วิปัสสนานี้ได้ หลวงปู่หมุนได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์มั่นอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็แสวงหา ความวิเวก เพื่อประพฤติปฏิบัติต่อไป จนกระทั่งหลวงปู่แตกฉาน เชี่ยวชาญ ครั้งนั้นหลวงปู่หมุนได้ศึกษาธรรมจนที่สหธรรมมิกที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น รู้จักสนิทสนมกับหลวงปู่ทุกองค์ เช่น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นต้น ..ในตอนที่หลวงปู่หมุนไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ท่ามกลางศิษย์สายกองทัพธรรม ในขณะสนทนาธรรมหลวงปู่มั่นได้ปรารภกับหลวงปู่หมุนว่า " ท่านหมุน ท่านเก่งพอตัวอยู่แล้ว หากไม่เจอกันหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปริยัติ ปฏิบัติ และ

ปฎิเวธให้สอบถามท่านแหวนได้ เพราะเขาเก่งมาก " หลวงปู่มั่นได้มอบของที่ระลึกให้หลวงปู่หมุน 2 อย่าง คือ แผ่นจารอักขระใบลาน ม้วนเป็นลูกอมกลม ๆ เขียนเป็นภาษาขอมว่า เย ธมมา เหตุปภวา ฯลฯ เป็นต้น และธนบัตรรัชกาลที่ 8 พร้อมลายเซ็นหลวงปู่มั่น ภายหลังหลวงปู่ได้มอบให้โยมแม่ท่านไป ต่อมาหลวงปู่มีความกังขาสงสัยในกัมมัฏฐานในเรื่องของ จตุธาตุวัฏฐาน ซึ่งเป็นเรื่องของการปฏิบัติในธาตุทั้ง 4 เป็นมูลฐานของอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จึงได้เดินทางไปกราบของความรู้เพิ่มเติมจาก หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ก็ได้รับความกระจ่าง จากนั้นก็ธุดงค์ต่อไป ท่านยังได้ร่ำเรียนวิชาจาก พระอาจารย์สิงห์ วัดป่าสาลวัน หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา

ต่อมาไม่นานก็ได้ร่ำเรียนวิชามีดหมอมหาปราบจากหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว และหลวงพ่อเงิน วัดมะปรางค์หลวง ซึ่งวิชานี้หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ก็เรียนจากหลวงพ่อขำและหลวงพ่อเงิน เช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงที่หลวงปู่ธุดงค์มาสู่ภาคตะวันออกแถบจันทบุรี ท่านได้พำนักอยู่กับ หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง กระทั่งหลวงพ่อสอนไว้ใจให้วิชาอาคมและครอบครูให้กับหลวงปู่

หลวงปู่หมุนนับเป็นหนึ่งในทายาทผู้สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุนแห่งนครจำปา ศักดิ์ราชอาณาจักรลาวที่ยังดำรงขันธ์อยู่ในปัจจุบัน โดยสมเด็จลุนเป็นที่เลื่องลือในคุณธรรมและอภิญญาอภินิหารอาทิ สามารถเดินบนน้ำได้ ย่นระยะทางได้ แปลงร่างได้ เดินทะลุภูเขาได้กล่าวกันว่าภิกษุสงฆ์ยุคก่อนโน้นต่างดั้นด้นสืบเสาะหาสม เด็จลุน เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษามหาวิทยาคม ตลอดจนวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่หมุนเองก็ดั้นด้นธุดงค์ผ่านอุบลราชธานีเข้าประเทศลาวเพื่อสืบเสาะสม เด็จลุน แต่ไม่พบ แล้วมาพักอยู่กับหลายพ่อมหาเพ็ง วัดลำดวน ในช่วงนั้นหลวงปู่ได้ใช้เวลาค้นคว้าศึกษาพระไตรปิฏก ในเรื่องพระวินัยปิฏก และพระอภิธรรม ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ที่กล่าวถึงการเจริญกัมฏฐานล้วน ๆ ประมาณ 2 เดือนกว่า แล้วก็ออกธุดงค์กลับสู่ประเทศไทยเข้ากรุงเทพฯ มาพักนักที่วัดหงส์รัตนาราม ต่อมาธุดงค์ไปทางอีสานเข้าสู่ประเทศลาวอีก หลายครั้ง จนกระทั่งท่านมีอายุ 30 ปีกว่าแล้ว คราวนั้นหลวงปู่ได้พบกับฆราวาสชื่ออาจารย์ฉันท์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของสมเด็จลุน ที่จังหวัดนครพนม โดยเรียนวิชาจากอาจารย์ฉันท์จนหมดภูมิแล้ว อาจารย์ท่านจึงได้แนะนำฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ดำเหลนของสมเด็จลุนปรมาจารย์ ใหญ่ที่สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุน

ในการฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่ดำนั้น มีกฎเกณฑ์รายละเอียดมากทั้งยังต้องทดสอบภูมิปัญญา และอำนาจของกระแสจิตที่ต้องเข้มแข็งพอที่จะเรียนวิชาของท่านได้ ในรุ่นที่หลวงปู่ฝากตัวเป็นศิษย์นั้นมีมากกว่า 50 รูป แต่หลวงปู่ดำท่านทดสอบวิชา แล้วคัดออกจนเหลือแค่ 3 รูป มีหลวงปู่หมุน หลวงพ่อสงฆ์ (วัดม่วง ลพบุรี) และอีกรูปหลวงปู่ลืมชื่อไปแล้ว สำหรับพิธี ครอบครูของหลวงปู่ดำนั้นมีของยกครูที่หลวงปู่จำได้อย่างแม่นยำคือ 1.ผ้าไตรจีวร 2.บาตร 3.ทองคำหนัก 10 บาท (สำหรับทองคำ จะคืนให้เมื่อเรียนจบ) และมีข้อห้ามประการสำคัญอีกคือ ห้ามสึกตลอดชีวิต ถ้าสึกไปชีวิตก็จะหาไม่

ในการครอบวิชานี้ถือว่าเป็นสุดยอดเคล็ดวิชา วิทยาคม ในสายของสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ซึ่งกว่าจะเรียนจบต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญเพียรอย่างมาก ได้จำวัดพักผ่อนวันละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น อาหารต้องฉันมื้อเดียว และขั้นตอนสุดท้ายที่จะสำเร็จวิชานี้จะมีการทดสอบอย่างพิสดาร

อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อกันว่าหลวงปู่หมุนท่านสำเร็จวิชาสำเร็จธาตุ 4 มาจากสายสมเด็จลุน ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าวิชาสายนี้ลึกลับเกินปุถุชนคนธรรมดาจะเรียนได้สำเร็จ ผู้ที่จะเข้าถึงได้ต้องเป็นผู้ที่มีบารมีมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน เพราะการควบคุมธาตุ 4 ได้นั้นผู้ที่จะสามารถทำการนี้ได้ต้องสำเร็จจตุตฌานเป็นบาทฐานในการทำ และยังต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของกสิณจตุธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟอีกด้วย

หลังจากนั้น หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษา ที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ที่" พระครูหมุน ฐิตสีโล" หลวงปู่ได้ปฎิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ปี จึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ต้องการใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติพระวิปัสสนาธุระ อย่างเดียว ประมาณปี 2487 ในช่วงที่หลวงปู่อายุ 50 ปี ท่านเก็บบริวารออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบ โดยลำพังแต่ผู้เดียว และในช่วงนี้เองที่หลวงปู่ได้พบกับอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ในระหว่างที่หลวงปู่ธุดงค์โดยบังเอิญ อาจารย์ทั้ง 2 จึงได้นิมนต์หลวงปู่โปรดญาติโยมที่วัดป่าหนองหล่ม หลังจากที่หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์แสวงหาธรรม อยู่หลายสิบปี ประมาณปี 2520 ท่านจึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งวัดบ้านจานในยามนั้น มีอายุกว่า 200 ปี อยู่ในสภาพทรุดโทรม ท่านจึงได้พัฒนาวัด สร้างอุโบสถขึ้นมา ด้วยหยาดเหงื่อและแรงจิต ทำให้อุโบสถเสร็จสมบูรณ์ในเวลาอันสั้น


**เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 11 มี.ค.2546 หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระอมตะเถระ 5 แผ่นดิน แห่งวัดบ้านจาน อ. กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มรณภาพลงอย่างสงบบนกุฎี สิริอายุ 109 ปี 86 พรรษา


**วาจาสิทธิ์ของหลวงปู่หมุน ที่ได้กล่าวไว้ก่อนละสังขาร ซึ่งลูกศิษย์และชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหู คือ " ของๆฉันสร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะ หมุนโชคหมุนลาภ ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดก็รุ่งเรือง เจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้มครอง แม้นว่าฉันจะตายไป ของๆ ฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายๆเท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไป ด้วยพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็น หนึ่งบ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเรื่องถึงเมืองแมน ".

**คาถาบูชาหลวงปู่หมุน**
ตัวกูลูกพระพุทธองค์ ครูสิทธิ์ ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู พบรอยก้มดู เจอครูกราบไหว้ "
อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา


แหล่งที่มา :https://www.web-pra.com/amulet/หลวงปู่หมุน-วัดบ้านจาน

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561

หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

หลวงพ่อเดิม พุทธสโร หรือ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ อดีตเจ้าอาวาส วัดหนองโพ
ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2403 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [1] อุปสมบท แก้ไข ณ พัทธสีมาวัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2423 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีหลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเงิน (พระครูพยุหานุศาสก์) วัดมะปรางเหลือง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า พุทธสโร ภายหลังจากอุปสมบท แก้ไข ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนกับหลวงตาชม วัดหนองโพ ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและวิชาอาคมกับนายพันธ์ ชูพันธ์ ผู้ทรงวิทยาคุณของบ้านหนองโพ และท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย และ วิชาอาคม กับพระเกจิอาจารย์ท่านอื่นๆมากมาย หลวงพ่อเดิม ท่านได้สร้างพระเครื่องรางของขลังมากมายเป็นที่เลื่องชื่อ มีประสบการณ์ความศักดิ์สิทธิ์ปรากฏอยู่มากมายเครื่องรางเหล่านี้ก็มี นางกวัก ราชสีห์ ตระกรุด ผ้ายันต์รอยเท้า มีดหมอแหวน เป็นต้น สมณศักดิ์ แก้ไข หลวงพ่อเดิมได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูนิวาสธรรมขันธ์ดำรงตำแหน่งครั้งหลังสุดเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอพยุหะคีรี และเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเดิม ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมสิริอายุได้ 91 ปี 71 พรรษา

หลวงปู่แสนวัดบ้านหนองจิก

เกจิดังแห่งวัดบ้านหนองจิก อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ หลวงปู่แสน ปสนฺโน วัดบ้านหนองจิก อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ได้รับการขนานามว่า “เทพเจ้าแห่งเขาภูฝ้ายใกล้ชายแดนเขมร” ปัจจุบันอายุ ๑๐๙ ปี สุขภาพร่างกายยังแข็งแรง เดินไปไหนมาไหนได้ปกติ และทุกวันจะมีข้าราชการ ตำรวจ ทหาร เข้ากราบไหว้ไม่ขาดสาย “แสน คุ้มครอง” เป็นชื่อและนามสกุลเดิมของหลวงปู่แสน เกิดวันศุกร์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๔๕๑ ระหว่างบวชเณรได้ไปศึกษาเรียนหนังสือกับหลวงพ่อมุมวัดปราสาทเยอใต้ จนจบป.๔ และได้เรียนตำราพระเวชจากหลวงพ่อมุมทั้งภาษาขอม ภาษาธรรมบาลี จนเก่งกล้าวิชา กระทั่งอายุ ๒๑ ปี ได้เข้าบรรพชาอุปสมบทที่วัดบ้านโพง ได้นิมนต์หลวงพ่อมุม อินทปญโญ วัดปราสาทเยอ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลวงปู่แม่นญาณเมโธ

🆕🆕ประวัติหลวงปู่แม่น ญาณเมโธ วัดหน้าผา(ศรีถมอรัตน์) ท่านเกิดปี พุทธศักราช 2473 ในวัยเด็ก ท่านบวชเป็นสามเณร เรียนวิชากับหลวงพ่อพิธที่วัดฆะมัง กินข้าวก้นบาตร เดินบิณฑบาตตามหลวงพ่อพิธ หลวงพ่อพิธท่านสอนวิชาให้ตั้งแต่เป็นเณร ทั้งวิชาทำตะกรุด การเขียนอัขระยันต์ต่างๆจากหลวงพ่อพิธ จนแตกฉาน พอบวชเป็นพระท่านก็ให้ออกเดินธุดงค์ หลวงพ่อพิธบอกหลวงปู่ว่าหลวงปู่เป็นคนหัวแข็ง ความจำดี ไปหาเรียนวิชาอาคมไป เอาไว้ใช้ให้เกิดประโยชน์ จากนั้นท่านก็เดินธุดงค์ตามป่ามาเรื่อยๆ จนได้พบกับพระเกจิอาจารย์จอมขมังเวทย์อีกท่าน นามว่าหลวงพ่อเขียน ซึ่งสมัยนั้นเรียกวัดถ้ำขุนเณร เป็นจุดเริ่มต้นให้หลวงปู่แม่นท่านได้ร่ำเรียนวิชาคาถาต่างๆและวิชากรรมฐานกับ หลวงพ่อเขียน วัดถ้ำขุนเณร ในสมัยนั้น หลวงพ่อเขียนท่านสอนกรรมฐานให้ โดยให้ไปนั่งฝึกสมาธิในป่าช้ากับซากศพ หรือเรียกว่า อสุภกรรมฐาน จากนั้น ด้วยความที่หลวงปู่แม่นท่านไฝ่รู้ไฝ่เรียน จึงทำให้หลวงพ่อเขียนท่านเมตตา หลวงพ่อเขียนท่านจึงสักยันต์ราหูง้างธนูให้หลวงปู่แม่นที่กลางอก หลวงปู่แม่นบอกว่าหลวงพ่อเขียนท่านให้ภาวนาคาถาสองคำเท่านั้น ไม่รู้สึกเจ็บเลยเวลาโดนเข็ม เมื่อหลวงปู่แม่นเรียนวิชาจากหลวงพ่อเขียนจนแตกฉานแล้ว จึงได้กราบลาหลวงพ่อเขียนแห่งถ้ำขุนเณร จากนั้นท่านก็เดินธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพรไป จนมาอยู่ที่วัดสว่างสามัคคีอำเภอศรีเทพ ท่านได้เจอหลวงพ่อทบโดยบังเอิญ จากนั้นก็ได้รู้จักพูดคุยกับหลวงพ่อทบ สมัยนั้นหลวงพ่อทบยังตาดีอยู่ หลังจากนั้นมาท่านก็ได้เดินธุดงค์ไปเรียนวิชากับหลวงพ่อทบ หลวงพ่อทบท่านเลยสอนวิชาเมตตาให้ส่วนคงกระพันท่านสอนไม่หมดเพราะช่วงนั้น ประมาณปี 2509 หลวงพ่อทบท่านดวงตาเสียแล้ว เพราะท่านเพ่งกสิณเยอะ พลังจิตหลวงพ่อทบนี่แน่นอนเลยหนา หลวงปู่แม่นท่านบอก และท่านก็ธุดงค์มาอยู่ที่วัดบ้านโคก (โคกสะอาด) ต่อมาท่านก็เดินธุดงค์มาถึงบริเวณบ้านหน้าผา เป็นจุดที่เหมาะกับการปักกลด จึงปักกลดบริเวณนั้น ต่อมาชาวบ้านศรัทธาเลื่อมใส จึงนิมนต์ให้ท่านอยู่ที่นี่และได้ร่วมกันสร้างวัดเล็กๆขึ้น เรียกว่าวัดหน้าผาชื่อเดิมคือ วัดหน้าผาโบสุวรรณ ปัจจุบันชื่อทางการเรียกว่า วัดศรีถมอรัตน์ บ้านหน้าผา ต.โคกสะอาด อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ท่านปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างมิได้ขาด ญาติโยมก็จะมาขอพึ่งใบบุญท่านทั้งทางวิชาอาคมต่างๆ ทั้งไล่ภูตผีท่านก็เคยได้รับนิมนต์ไป มีเรื่องเล่าว่า แค่เห็นหลวงตาแม่นเดินมา ก็ต้องเกรง ส่วนด้านแคล้วคลาดก็ดีนักแลตะกรุดของท่านที่ทำไว้แจกญาติโยมในยุคแรกๆนั้นล้วนแต่มีประสบการณ์มากมาย ทางเมตตาค้าขายก็ไม่เป็นสองรองใคร ด้วยสรรพวิชาที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้นั้นล้วนแต่มีความเข้มขลังเปี่ยมด้วยพุทธคุณครบทุกประการ

หลวงปู่สอขันติโก อริยสงฆ์ 6แผ่นดิน

 ประวัติหลวงปูสอ ขันติโก 


หลวงปู่สอ ท่านมีนามเดิมว่า สอ แก้วดี ท่านเกิดในตระกูลชาวนา เกิดเมื่อวันเสาร์ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ หลานแท้ๆ (ลูกของคุณยายเฮียง) และชาวบ้านที่บอกว่าในใบสุทธินั้นระบุวันเดือนปีเกิดและวันที่อุปสมบทคลาดเคลื่อนไป โดยระบุว่า เกิดวันที่ 20 พฤษาคม 2460
คลาดไป 12 ปี เพราะแม่ของหลวงปู่แจ้งเกิดให้ท่านช้าไปมากและไม่ได้นำเข้าทะเบียนราษฏร์ เนื่องด้วยท่านติดตามหลวงปู่สีทัตถ์ไปตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งจริงๆแล้วท่านเกิดปี 2448
ปัจจุบันอายุ 113 ปี และวันที่อุปสมบทจาก2480 เป็น2512 ( 16 ก.พ. 2512 ) เนื้องด้วยเป็นใบที่ใช้ยืนยันตัวตนของท่านซึ่งขอทำในวันเวลาดังกล่าว
บิดาชื่อ คุณพ่อเพ็ง เป็นชาวลาว
มารดาชื่อ คุณแม่จันทร์
แม่พี่น้องร่วมกันอยู่ 6 คน
1. นายสุ เพียมา เสียชีวิตแล้ว
2. หลวงปู่สอ ขันติโก
3. นายสาน บุญรักษา เสียชีวิตแล้ว
- พี่น้องต่างบิดาอีก 3 คน
4. นางจูม กัณหา เสียชีวิตแล้ว
5. นางเจียง รามศรี เสียชีวิตแล้ว
6. นางเฮียง รามศรี เสียชีวิตแล้ว

เมื่อแรกเกิดหลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า แม่ของท่านบอกว่าตอนหลวงปู่เกิด สายรกพันคอ จะได้บวชเป็นแน่ พอเมื่อหลวงปู่ท่านยังเด็ก ได้ติดตามหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปัญโณ ไปยังภูเขาควายฝั่งลาวและได้บวชเป็นเณร รับใช้หลวงปู่สีทัตถ์ เล่าเรียนวิชาต่างๆจากท่าน จนอายุครบบวช ปีที่ 20 ได้ทำการบรรพชาอุปสมบทโดยหลวงปู่สีทัตถ์เป็นผู้บวชให้ อยู่รับใช้หลวงปู่สีทัตถ์ เป็นระยะเวลาหนึ่งจึงได้ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆตามป่าเขา ถ้ำภูผาต่างๆ จนได้ทราบข่าวอาการป่วยของโยมแม่ ในขณะนั่นหลวงปู่มีอายุ 32 ปี พรรษา 12 จึงรีบเดินทางมาดูแลแม่ผู้ให้กำเหนิด โดยท่านได้ทำการลาสิขาออกมาดูแลแม่ท่าน จนถึงวาระสุดท้ายของคุณแม่จันทร์ ประมาณครึ่งปี หลวงปู่จึงได้เข้าบรรพชาใหม่อีกครั้ง จวบจนถึงปัจจุบัน 81 พรรษา
รวมพรรษาทั้งสองครั้ง 93ปี
ปัจจุบันท่านจำพรรษา ที่วัด โพธิ์ศรี บ้านบะหว้า ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
ผู้เรียบเรียง เอก นครพนม
หลวงปู่ท่านเล่าถึงตอนที่ยังติดตามหลวงปู่สีทัตถ์ เมื่อครั้นยังเด็กได้พบกับพ่อแม่ญาคูสีทัตถ์ เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่สีทัตถ์เป็นอย่างมาก จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์โดยขอให้หลวงปู่สีทัตถ์บวชเณรให้ติดตามท่านไปยังในสถานที่ต่างๆ และข้ามไปยังฝั่งลาวที่ภูเขาควายคอยติดตามรับใช้ท่านจนอายุครบบวช จึงได้บรรพชาโดยมีพ่อแม่ญาคูสีทัตถ์บวชให้ อยู่ศึกษาเล่าเรียนธรรมใหญ่ กับท่านเป็นเวลา5 ปี จึงได้กราบลา พ่อแม่ญาคูสีทัตถ์ ออกธุดงค์ไปตามป่าตามเขาทั้งฝั้งไทยและฝั่งลาว และจะกับไปหาหลวงปู่สีทัตถ์อยู่เป็นประจำ ที่พระบาทโพนสัน จนพ่อแม่ญาคูสีทัตถ์ละสังขารถึงได้กับมายังฝั่งไทย และมักจะไปมาหาสู่หลวงปู่สนธิ์ วัดท่าดอกแก้ว หลวงปู่คาร คันธิโย หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ ผู้เป็นศิษย์ผู้พีขอศึกษากับท่านอยู่เป็นระยะ.

หลวงปู่กาหลวงเขี้ยวแก้ว วัดเขาแหลม

หลวงปู่กาหลง เดิมท่านเป็นชาวคลอง 7 ปทุมธานี เกิดเมื่อวันที่  10 มกราคม   พ.ศ. 2461  มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน ท่านเป็นบุตรคนโต โดยก่อนที่หลวงปู...